แพนด้าตั้งท้องประมาณ 90 วันหรือ 3 เดือนเเต่ในบางกรณีอาจจะตั้งท้องนานถึง 5 เดือน
ฤดู
ผสมพันธุ์ หมีแพนด้ามีฤดูผสมพันธุ์ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (spring)
ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เมษายน
หมีแพนด้าเพศผู้ตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 – 7.5 ปี
คุณภาพของน้ำเชื้อเพศผู้ และขนาดของอัณฑะแตกต่างกันตามฤดูกาล
คุณภาพของน้ำเชื้อดีที่สุดจะอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์
หมีแพนด้าเพศเมียตัวโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์อายุ 5.5 – 6.5 ปี
โดยระยะเวลาที่
หมีแพนด้ายักษ์เพศเมียจะยอมรับการผสมพันธุ์ (estrous cycle)
จะยาวนานเพียง 3 วัน/ปี ในแต่ละปีหมีแพนด้าเพศเมียจะแสดงพฤติกรรมการเป็นสัด
คือ กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร กินอาหารลดลง ส่งเสียงร้อง เช่น การร้องแพะ
(goat sound) เพิ่มมากขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ได้แก่
ช่องคลอดบวมแดง และการป้ายกลิ่น (scent marking)
หมีแพนด้าเพศเมียสามารถให้ลูกได้ครั้งละ 1 – 2 ตัว ในช่วงเดือนสิงหาคม,
กันยายน และตุลาคม มีรายงานกล่าวว่า ที่สวนสัตว์ Fuzhou
พบหมีแพนด้าที่เกิดเร็วที่สุด ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2540
และพบหมีแพนด้าที่เกิดช้าที่สุดในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540
ที่ศูนย์อนุรักษ์และวิจัยหมีแพนด้าวู่หลง (wolong china and conservation
research center for the giant panda)
ซึ่งหมีแพนด้าเพศเมียจะตั้งท้องนานประมาณ 83 – 181 วัน
มักออกลูกในถ้ำหรือโพรงไม้ เป็นสัตว์ที่ชอบความสงบ อาศัยอยู่โดดเดี่ยว
การแสดงอาการของการเกิดลูกหมีแพนด้า จะแสดงพฤติกรรมกระสับกระส่าย
เบื่ออาหาร เลียปากช่องคลอดถี่ขึ้น
บางตัวจะแสดงพฤติกรรมความเป็นแม่ต่อวัตถุในกรงเลี้ยง เช่น
การอุ้มขอนไม้ขนาดเล็ก, ลูกแอปเปิ้ล หรือต้นไผ่ที่ให้กิน ประมาณ 10 – 20
วัน ก่อนคลอด
หมีแพนด้ายักษ์ส่วนใหญ่จะสื่อสารกัน โดยการใช้กลิ่นอะซิติด
ที่หลั่งออกมาจากต่อมที่อยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือโคนหาง
(top of the tail) โดยจะถูตามต้นไม้ ก้อนหิน และพื้นราบ หรือที่เรียกกันว่า
scent marking นอกจากนี้ยังใช้เล็บขูดต้นไม้
และใช้เสียงในการกำหนดอาณาเขต เช่น การเห่า, การร้องขู่คล้ายสุนัข (dog
sound) หรือการใช้เสียงพร้อมที่จะผสมพันธุ์ goat sound
หมีแพนด้าเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยอยู่โดดเดี่ยว
ยกเว้นหมีแพนด้าเพศเมียที่มีลูกอ่อน หรือในช่วงฤดูผสมพันธุ์
หมีแพนด้าเพศผู้หลายตัวอาจต่อสู้เพื่อแย่งชิงหมีแพนด้าเพศเมีย
ในกรณีที่อยู่ในป่าตามธรรมชาติ
แต่หมีแพนด้าที่เลี้ยงในสภาพกรงเลี้ยงจะไม่สามารถเลือกคู่ได้เนื่องจากมีหมี
แพนด้าเพศผู้เพียงตัวเดียว หมีแพนด้าจะตั้งท้องนานเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน
และเลี้ยงลูกนานถึง 8 เดือน
ซึ่งลูกหมีแพนด้าที่คลอดวันแรกจะกินนมจากแม่หมีทันที
เมื่อหิวลูกหมีจะส่งเสียงร้องคล้ายลูกมนุษย์ โดยปกติจะร้องกินนมประมาณวันละ
8 – 12 ครั้ง ลูกหมีแพนด้าจะมีขนอ่อนสีขาว หนังมีสีชมพู เมื่ออายุ 15
วันจะเริ่มเกิดขนสีดำตามตำแหน่งต่าง ๆ อายุประมาณ 6 – 7 สัปดาห์
ลูกหมีแพนด้าจะลืมตาและเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก อายุ 3 เดือน จะเริ่มคลาน
และเดินตามลำดับ อายุ 7 – 8 เดือน จะเริ่มทดลองกินใบไผ่
และเริ่มกินไผ่เมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 12 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป
แต่ยังกินนมจากแม่หมีแพนด้าเป็นหลัก
ลูกหมีแพนด้าจะไม่สามารถกินต้นไผ่ได้จนกว่าจะอายุครบ 1 ปี
ซึ่งจะมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทนฟันน้ำนม และเมื่ออายุ 18 เดือน
ลูกหมีจะแยกออกจากแม่หมีเพื่อจะหาที่อยู่เป็นของตนเอง
ในประเทศไทย หมีแพนด้าถูกนำมาเลี้ยงภายในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์เชียงใหม่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 2 ตัว คือ
หมีแพนด้าเพศเมีย ชื่อ หลินฮุ่ย (Lin Hui) หรือใช้อักษรย่อ (LH) รหัส 539
เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 และหมีแพนด้าเพศผู้ ชื่อ ช่วง ช่วง
(Chuang Chuang) หรือใช้อักษรย่อ (CC) รหัส 510 เกิดเมื่อวันที่ 6
สิงหาคม 2543 และหมีแพนด้าเพศเมีย ชื่อหลินปิง (Lin Ping) หรือใช้อักษรย่อ
(LP) รหัส 740 เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552
การใช้อักษรย่อแทนชื่อหมีแพนด้า
เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นในการจดบันทึกพฤติกรรม
หรือการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ
ซึ่งภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีกรงเลี้ยงภายในอาคารหรือส่วนจัดแสดงในร่ม
(exhibit area) และกรงเลี้ยงนอกอาคารหรือส่วนจัดแสดงกลางแจ้ง (exercise
yard) ทั้งสองส่วนจะมีการสร้างสระน้ำ, ห้องปรับอากาศ,
เครื่องเล่นในการปีนป่าย และขอนไม้สูง
ซึ่งตามธรรมชาติแล้วหมีแพนด้าชอบนอนบนขอนไม้สูงจากพื้น
เนื่องจากสามารถป้องกันอันตรายจากศัตรูที่จะสามารถมาทำร้ายได้
วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
Birthday "panda"

ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27
ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590
ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือและมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
ลักษณะทั่วไป
ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิดี้ (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง วงศ์ไอเลอริดี้ (Ailuridae)
แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่าหมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือและมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
ประวัติ ช่วงช่วง หลินฮุ่ย

ช่วงช่วง (อักษรจีนตัว
ย่อ: 创创, ShuangShuang) เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศผู้
ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่ สวนสัตว์เชียงใหม่
ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีนโดยจัดแสดงคู่กับ หลินฮุ่ย แพนด้ายักษ์เพศเมีย
ตั้งแต่เดือนตุลาคม
พ.ศ. 2546มีชื่อไทยว่า “เทวัญ” และมีชื่อล้านนาว่า “คำอ้าย”
ช่วงช่วง เกิด
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2543ที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์
เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน
เกิดจากแพนด้าตัวผู้ชื่อ ชิงชิง และแพนด้าตัวเมียชื่อ ไป่แฉว
หลินฮุ่ย (ภาษา จีน: 林惠, Lin Hui)เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เป็นเวลา 10 ปี โดยจัดแสดงคู่กับช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ตั้งแต่วันที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีชื่อไทยว่า“เทวี” และมีชื่อล้านนาว่า “คำเอื้อง”
หลินฮุ่ย (ภาษา จีน: 林惠, Lin Hui)เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เป็นเวลา 10 ปี โดยจัดแสดงคู่กับช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ตั้งแต่วันที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีชื่อไทยว่า“เทวี” และมีชื่อล้านนาว่า “คำเอื้อง”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)